Last updated: 28 ม.ค. 2565 | 12592 จำนวนผู้เข้าชม |
"ลำไยไทย" เป็นที่นิยมของตลาดต่างประเทศเนื่องจากลำไย ไทยมีคุณภาพและมีมาตราฐานเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ จากสถิติของกรมการค้าต่างประเทศการส่งออกผลไม้ของไทยในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,417 ล้านกิโลกรัม และลำไยอยู่อันดับ 2 ของผลไม้ทั้งหมดที่ไทยส่งออกจำนวนลำไยที่ส่งออกในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 464 ล้านกิโลกรัม
ขั้นตอนการส่งออกลำไยทางเรา GRT CARGO สรุปมาให้ง่ายๆเพียงคุณทำตามขั้นตอนต่อไปนี้กับเรา
1. ผู้ที่ต้องการส่งออกลำไยต้องทำการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออกกับกรมศุลกากร หรือเรียกว่าการลงทะเบียน "E-Paperless"
2. การส่งออกลำไยไปต่างประเทศผู้ที่จะส่งออกต้องยื่นขอจดทะเบียน 2 ประเภทกับกรมวิชาการเกษตร คือ
2.1 จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผักและผลไม้ ( เอกสารแบบ สมพ.4 หรือ สมพ.5 )
2.2 จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกลำไยไปนอกราชอาณาจักร ( เอกสารแบบ ศกอ.001-1 )
3. สวนที่ผลิตต้องได้รับการตรวจสอบและขึ้นทะเบียนรับรองมาตราฐาน GAP (การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช อาหาร)และโรงคัดบรรจุที่ใช้ในการบรรจุผลไม้เพื่อส่งออกต้องผ่านการตรวจสอบและได้รับการขึ้นทะเบียนรับรอง มาตราฐาน GMP (หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร) จากกรมวิชาการเกษตร
4. ผู้ส่งออกจะต้องติดป้ายหรือฉลาก หรือประทับข้อความเป็นภาษาอังกฤษที่ภาชนะบรรจุ
- ชื่อและหมายเลขทะเบียนผู้ส่งออก
- ชื่อพืชและพันธุ์
- ชั้นคุณภาพ
- น้ำหนักของสินค้า
- ประเทศผู้ผลิต
การส่งออกลำไยไปแต่ละประเทศนั้นจะมีรายละเอียดและขั้นตอนที่แต่งต่างกันรวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งหากท่านใดที่สนใจจะส่งออกลำไยสดไปต่างประเทศ GRT CARGO ยินดีให้คำแนะนำและพร้อมดูแลในทุกขั้นตอน
พิกัดศุลกากร : 0813.40.10
แหล่งอ้างอิงข้อมูล :
กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (doa.go.th)
ลำไยสด (dft.go.th)
17 ก.ย. 2564
27 ม.ค. 2565
8 มิ.ย. 2564