การลงทะเบียนผู้นำเข้า - ส่งออก กับทางกรมศุลกากร

Last updated: 2 ก.พ. 2565  |  6825 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ขั้นตอนลงทะเบียนผู้นำเข้า-ส่งออก

การลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออก   E- PAPERLESS 


             นการส่งออก – นำเข้าสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ประกอบการต้องลงทะเบียนเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกกับทาง

กรมศุลกากรก่อนเพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการใช้งานระบบต่าง ๆ ของกรมศุลกากร

เอกสารที่ใช้ในการลงทะเบียน

-   บุคคลธรรมดา

ลงทะเบียนกับกรมศุลกากรบนเว็บไซต์ Customs Trader Portal  https://www.customstraderportal.com/auth/login

 

         

               นอกจากนี้ ผู้นำเข้า-ส่งออกที่เป็นบุคคลธรรมดา ยังสามารถชำระค่าภาษีศุลกากร และค่าธรรมเนียมใบขนสินค้า

ผ่านแอปพลิเคชัน Krungthai NEXT เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดความเสี่ยงแพร่ระบาดโควิด-19

 

 

-  นิติบุคคล

               ผู้ประกอบการที่ประสงค์ลงทะเบียนในนามนิติบุคคล จะไม่สามารถยืนยันตัวตนผ่านระบบออนไลน์ได้

โดยต้องทำการยื่นเอกสาร ที่สำนักงานศุลกากร สุวรรณภูมิ

 

1.   จัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

-     แบบฟอร์มคำขอหมายเลข 1   

-     สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือเดินทาง Passport กรรมการผู้มีอำนาจ

      ( หากหนังสือรับรองบริษัทระบุให้เอกสารต้องเซ็นมากกว่า 1 คน ต้องเตรียมครบทุกคน )

-     สำเนาหนังสือรับรองบริษัท และ วัตถุประสงค์ (อายุไม่เกิน 3 เดือน)

-     หนังสือมอบอำนาจ (กรณี กรรมการผู้มีอำนาจไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง)

-     สำเนา ภ.พ. 20 (กรณี เป็นสาขา)

** หมายเหตุ ประทับตราและเซ็นชื่อบนสำเนาด้วยลายมือชื่อเดียวกันทุกแผ่น

 

2.    ยื่นเอกสาร สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สสภ.)     แผนที่ Google Map

      ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ชั้น 2 อาคาร BC-1 โทร. 02-667-6000 ต่อ 2532



              หากลูกค้ามีข้อสงสัย หรือต้องการคำแนะนำ GRT Cargo มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำแนะนำด้วยความเต็มใจ

ลูกค้าท่านใดไม่สะดวกในการเดินทางเพื่อยื่นเอกสาร  ทางเรามีบริการดำเนินการจดทะเบียนผู้นำเข้า-ส่งออก เพื่อลดขั้นตอนความยุ่งยาก

และความถูกต้องของเอกสาร  โดยการเตรียมเอกสารตามคำแนะนำของทีมงานและสแกนส่งให้ทางบริษัทดำเนินการ

 

ปรึกษา / ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

    +66 95 820 4463 K.Sun
    +66 92 914  1649 K.Aof
    E-Mail : Teerapon.s@grtcargo.com

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้