Last updated: 18 ก.พ. 2565 | 39899 จำนวนผู้เข้าชม |
Phytosanitary Certificate คืออะไร?
หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือรู้จัก Phytosanitary certificate ผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า แท้จริงแล้ว Phytosanitary certificate
นั้นคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ต้องขอจากหน่วยงานไหน แล้วทำอย่างไรจึงจะได้เอกสาร Phytosanitary certificate
มาประกอบการส่งออก GRT CARGO ได้หาคำตอบมาให้แล้ว
Phytosanitary certificate : PC หรือ หนังสือรับรองสุขอนามัยพืช เป็นหนังสือสำคัญเพื่อรับรองว่าพืช เชื้อพันธุ์พืช หรือพาหะที่ส่งออกปลอดจากศัตรูพืช
ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้าปลายทาง ออกโดยกลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานควบคุมพืช
และวัสดุการเกษตร โดยในแต่ละประเทศอาจจะมีกฎระเบียบและเงื่อนไขในการนำเข้าสินค้าพืชที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนทำการส่งออก
ผู้ส่งออกควรศึกษาเงื่อนไขและข้อกำหนดของแต่ละประเทศให้ดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนของการดำเนินพิธีการขาเข้าที่ปลายทางได้
HOW TO การขอเอกสาร Phytosanitary certificate ได้อย่างไรและต้องมีเอกสารประกอบอะไรบ้าง?
หากผู้ส่งออกมีความประสงค์จะขอ หนังสือรับรองสุขอนามัยพืช หรือ Phytosanitary certificate เอกสารที่ผู้ส่งออกจะต้องจัดเตรียม ได้แก่
แบบฟอร์ม พ.ก. 7
1. แบบคำขอใบรับรองสุขอนามัยพืช ตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (แบบ พ.ก.7) ดาวน์โหลดเอกสาร
2. หนังสือรับรองสุขอนามัย (Health certificate) กรณีสินค้าเป็นพืชควบคุมเฉพาะ
โดยสามารถตรวจสอบพืชควบคุมเฉพาะได้ทาง ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.doa.go.th/psco/?page_id=55
3. เอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น บัญชีรายการสินค้า (Invoice/Packing list), ใบอนุญาตนำเข้า (Import permit), หนังสือสำคัญแสดงการเป็นผู้นำเข้าส่งออก (ถ้ามี) เป็นต้น
เมื่อจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว สามารถยื่นเอกสารได้ที่กลุ่มบริการส่งออกสินค้าเกษตร สำนักงานควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
หรือด่านตรวจพืชฯทุกด่านที่ให้บริการ เพื่อทำการตรวจรับรองสินค้าพืช โดยเจ้าหน้าที่จะทำการสุ่มตัวอย่างพืชมาตรวจ หากตรวจพบว่ามีศัตรูพืชที่ด่านตรวจพืชฯ
จะต้องทำการคัดสินค้าที่พบศัตรูพืชออกทั้งหมด และเจ้าหน้าที่จะทำการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชให้กับเฉพาะพืชที่เหลือที่ไม่พบศัตรูพืช
เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการตรวจรับรอง ผู้ส่งออกควรตรวจสอบรายละเอียดสินค้าพืชที่จะส่งออกให้ถูกต้องครบถ้วน ได้แก่ ชื่อวิทยาศาสตร์
จำนวน รวมถึงจำนวนกล่อง ต้องตรงตามบัญชีรายการสินค้า (Invoice/Packing list)
ในกรณีที่ใบอนุญาตนำเข้า (Import permit) กำหนดให้ระบุข้อความพิเศษลงในหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช หรือ Phytosanitary certificate
ทาง ผู้ส่งออกจะต้องยื่นเอกสารพร้อมกับข้อความที่ต้องการให้ระบุ กับกลุ่มงานวิจัยกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชก่อน
ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจจะต้องนำสินค้าพืชส่งไปยังกลุ่มงานวิจัยกักกันพืชล่วงหน้า เพื่อทำการสุ่มตรวจศัตรูพืชตามที่ระบุในใบอนุญาตนำเข้าของประเทศปลายทาง
เมื่อตรวจไม่พบศัตรูพืชตามรายการที่ระบุแล้ว จึงจะสามารถระบุข้อความพิเศษลงในหนังสือรับรองสุขอนามัยพืชได้
ขั้นตอนในการขอหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช หรือ Phytosanitary certificate
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองสุขอนามัยพืช ผู้ส่งออกสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่ www.doa.go.th
GRT CARGO ทางเรามีทีมงานที่พร้อมให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการจัดเตรียมเอกสารให้กับผู้ส่งออกสินค้าพืช เพื่อให้ผู้ส่งออก
มั่นใจได้ว่าสินค้าพืชจะได้รับการดูแลและตรวจสอบอย่างเรียบร้อย และสามารถส่งถึงมือผู้รับปลายทางตรงเวลาและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
13 ม.ค. 2565